มาตราวัดเจตคติของออสกูด (Osgood Scale, 1957) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มาตรวัดโดยอาศัยการจำแนกความหมายของคำ (Semantic Differential Scale)”
Good C.V. (1957) เป็นผู้สร้างมาตรวัดแบบนี้ลักษณะของมาตรวัดจะประกอบด้วยคำคุณศัพท์ที่บรรยายลักษณะของเป้าหมายที่เราต้องการวัด ที่แสดงลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน เช่น บวก – ลบ , เลา – ดี , ยินดี – ไม่ยินดี และระหว่างคำคุณศัพท์ทั้งคู่นี้จะมีจะมีช่วงห่างกัน 7 อัตรภาคชั้นโดยผู้ตอบจะเลือกว่าความรู้สึกที่เรามีต่อเป้าหมายนั้นอยู่ในอัตรภาคชั้นใด คะแนนเจตคติที่ได้จากการรวมคะแนนจากแต่ละข้อซึ่งอยู่ระหว่าง 1 – 7
คะแนน 1 หมายถึง เจตคติทางลบ
คะแนน 7 หมายถึง เจตคติทางบวก
แนวคิดของมาตรวัดเจตคติของ ออสกูด
Ø เป็นการวัดความรู้สึกของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีต่อสิ่งเร้า
Ø สิ่งเร้านี้ว่า มโนมติ (Concept)
Ø มโนมติ (Concept) ต่างๆ มีความหมาย
Ø มโนมติจะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญหลายลักษณะหรือหลายองค์ประกอบหรือหลายมิติ
Ø มิติเหล่านั้นมาจากความหมายทางภาษา
Ø เรียกมิติเหล่านั้นว่า Semantic space
Ø มโนมติต่างๆ คือ จุดที่อยู่ใน space
· กระบวนการในการอธิบาย ตัดสินใจ หรือประเมินมโนมติของบุคคลนั้น สามารถเขียนแทนได้ในเนื้อปริมาณที่อยู่ในช่วงการวัดทางจิตวิทยา (Psychological contium) ซึ่งมีความเข้มมากน้อยตามลักษณะของคำคุณศัพท์ 2 คำ ที่มีลักษณะตรงข้ามกัน (Bipolar adjectives) และใช้เป็นสิ่งที่นำมาอธิบายมโนมตินั้น
· ความแปรเปลี่ยนหรือแนวทางในการอธิบายมโนมติของแต่ละบุคคลในช่วงของการวัดจะมีลักษณะเป็นมิติเดียว และไม่ขึ้นอยู่กับช่วงการวัดอื่น
· การตอบสนองหรือการแสดงความรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อมโนมติในช่วงการวัดแต่ละช่วงนี้ จะอยู่ใน Semantic space และมีปริมาณตามที่ต้องการ
ทฤษฎีความสมดุลของเจตคติ (Attitude balance theory)
มีแนวคิดว่าถ้าหากแนวคิด 2 เรื่องใดมีความเกี่ยวเนื่องกันแล้ว เจตคติต่อเรื่องราวคู่นั้นจะรวมกัน (Converge) แต่ถ้าเรื่องราวคู่ใด มีความผิดแผกแตกต่างกัน หรือไม่เกี่ยวเนื่องกันแล้ว เจตคติต่อเรื่องราวนั้นก็จะออกห่างกัน (Diverge) ดังนั้นในทางตรงกันข้าม ถ้าหากเราทราบว่าเจตคติคู่ใดที่รวมลงรอยเดียวกันแล้ว เรื่องราวและแนวคิดคู่นั้นก็จะเกี่ยวเนื่องเป็กัน แต่ถ้าเจตคติคู่ใดมีลักษณะแยกจากกันแล้ว เรื่องราวและแนวคิดคู่นั้นจะไม่เกี่ยวเนื่องกัน
องค์ประกอบของความหมายทางภาษา
Ø องค์ประกอบด้านการประเมินค่า (Evaluation Factor)
ดี-เลว จริง-เท็จ
ฉลาด-โง่ มีประโยชน์-ไร้ประโยชน์
น่ารัก-น่าเกลียด สำคัญ-ไม่สำคัญ
เพลิดเพลิน-น่าเบื่อ หวาน-ขม
สุข-ทุกข์ สำเร็จ-ล้มเหลว
ง่าย-ยาก ชอบ-เกลียด
Ø องค์ประกอบด้านศักยภาพ (Potency Factor)
หนัก-เบา ใหญ่-เล็ก
แข็งแรง-อ่อนแอ จริงจัง-ตามสบาย
Ø องค์ประกอบด้านกิจกรรม (Activity Factor)
เร็ว-ช้า เป็นระเบียบ-ยุ่งเหยิง
ว่องไว-เฉื่อยชา จอแจ-เงียบเชียบ
ธรรมดา-ซับซ้อน ร่าเริง-หงอยเหงา
ขั้นตอนการสร้างมาตรวัดเจตคติ
· เลือกมโนมติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการจะศึกษาเจตคติ
· การสร้างมาตรา (Scale) คือการเลือกคำคุณศัพท์ที่ตรงข้ามกันให้เหมาะสม มาอธิบายมโนมติ
· การจัดมาตราวัด (Scale) นำคำคุณศัพท์ที่กำหนดไว้จัดเรียงลงในมาตราวัดแบบสุ่ม
· จัดทำคำชี้แจงและเสนอตัวอย่างคำถามคำตอบ
· นำไปทดลองใช้เพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ
การเลือกมโนมติ
- เลือกมโนมติที่กลุ่มผู้ตอบรู้จักและเข้าใจได้ตรงกัน มีความหมายที่ชัดเจน
- เลือกมโนมติที่สามารถกระตุ้นให้บุคคลแสดงความคิดเห็น และมีความรู้สึกที่แตกต่างกันได้มาก
การสร้างมาตรา (Scale)
Ø ใช้กลุ่มพิจารณา โดยเลือกตัวแทนกลุ่มหนึ่งจากบุคคลที่เราต้องการศึกษาเจตคติ แล้วเสนอมโนมติและคำคุณศัพท์ให้กลุ่มคนดังกล่าวพิจารณาความสอดคล้องต้องกันระหว่างมโนมติและคำคุณศัพท์เหล่านี้ โดยให้เรียงลำดับความสอดคล้องจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด แล้วนำผลที่ได้มาเลือกไว้ประมาณ 10-20 คู่ เพื่อนำไปสร้างสเกลต่อไป
Ø ให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นโดยตรงเป็นผู้พิจารณาคำคุณศัพท์ โดยการตัดทิ้งถ้าเห็นว่าห่างไกลจากเรื่องที่ศึกษาเกินไป พร้อมทั้งให้เพิ่มเติมตามที่เห็นเหมาะสม
การจัดมาตราวัด (Scale)
นำคำคุณศัพท์ที่กำหนดไว้จัดเรียงลงในมาตราวัดแบบสุ่ม โดยไม่แยกองค์ประกอบและทิศทาง ไม่ควรจัดให้คำคุณศัพท์ทางบวกอยู่ด้านเดียวกันหมด ควรคละกันไป เพื่อป้องกันการตอบของผู้ตอบที่ประเมินค่าโดยมีอคติ หรือตอบโดยไม่มีการพิจารณา ในการวัดแต่ละมโนมติควรใช้คำคุณศัพท์คู่ประมาณ 5-30 คู่
การกำหนดค่าน้ำหนักในแต่ละ Scale
ใช้วิธีกำหนดน้ำหนักสมมุติ (Arbitrary weighting) อาจเป็น 3, 5, 7 หรือ 9 ช่วงก็ได้ แต่ออสกูดเสนอแนะว่ามาตราแบบ 7 ช่วงเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพในการวัดมากกว่า
กำหนดตัวเลขตั้งแต่ 1-7
กำหนดคะแนนจุดกึ่งกลางเป็น 0 และกำหนดตัวเลข 1, 2, 3 ทั้งสองด้าน
การวิเคราะห์หาคุณภาพ
n วิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis)
n วิเคราะห์รายข้อ เพื่อหาอำนาจจำแนก
n หาความเที่ยงของมาตรวัด โดยแบ่งครึ่ง (Split half) หรือวิธีของฮอยท์ (Hoyt's reliability) หรือวิธีสัมประสิทธิ์เอลฟาของครอนบาค (Alpha coefficient)
การวิเคราะห์ข้อมูลจากมาตรวัดเจตคติ
ผลจากการใช้มาตรวัดเจตคติแบบจำแนกความหมายของคำ สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 4 แบบใหญ่ๆ คือ การเปรียบเทียบ
n ระหว่างมาตรา
n ระหว่างองค์ประกอบ
n ระหว่างมโนมติ
n ระหว่างกลุ่ม
การวิเคราะห์เส้นภาพ (Profile) เจตคติเป็นรายมาตราและรายบุคคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น